Last updated: 15 มี.ค. 2567 |
"ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน" คำกล่าวนี้เป็นความจริงที่สุด เพราะบ้านคือที่ที่สะท้อนตัวตนของเรา หรือเจ้าของบ้านได้ดีที่สุด ถ้าเรามีบ้านที่ได้จัดตามใจชอบและออกมาสวยงาม การได้ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังนั้นก็คงมีความสุขทุกวัน
ห้องนั่งเล่น-รับแขกวางผังแบบค่อนข้างเป็นทางการ แต่เพราะเป็น open plan เป็นพื้นที่โล่งเชื่อมต่อกันทุกห้อง เลยทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด ตกแต่งด้วยป้ายมงคล โต๊ะไหว้จีน โคมไฟจีน และภาพวาดพู่กันจีน
เจ้าของบ้านหลังนี้ก็เช่นกัน อพาร์ทเมนต์หลังงามในลอนดอน ที่เจ้าของเป็นนักเขียนพู่กันจีนและนักสะสม ที่มีความรู้ความเชื่อและใช้ปรัชญาจีนในการดำเนินชีวิต ดีไซเนอร์ต้องทำการบ้านหนักถึงขนาดไปดูงานที่วังต้องห้ามที่ปักกิ่ง และศึกษาปรัชญาจีน เพื่อนำหลักการมาใช้ในการออกแบบตกแต่งบ้านหลังนี้ ทั้ง 4 ศาสตร์ศิลป์แห่งบัณฑิต (ดูคำอธิบายด้านล่าง) ความกลมกลืนระหว่างสรรพสิ่ง การไม่ให้มุมไหนเหลี่ยมคมเกินไป และไม่มีจุดที่โค้งมนเกินไป
ห้องนั่งเล่น-รับแขกดูสวยภูมิฐานแบบบัณฑิต ด้วยสีน้ำตาลเข้มจากชุดเก้าอี้ไม้สไตล์จีนโมเดิร์นคลาสสิคที่เลือกใช้ และฉากไม้แกะสลักแบบโบราณที่ซ่อนตู้เก็บของ และไฟตกแต่งได้อย่างแนบเนียน
ข้าวของที่เอามาตกแต่งมีทั้งของสะสมของเจ้าของบ้าน อย่างเก้าอี้โบราณ หรือภาพวาดพู่กันจีนที่ประดับตามมุมต่างๆ และของที่ทำขึ้นใหม่อย่างเช่น ฉากแกะสลักกั้นพื้นที่ระหว่างห้องหนังสือกับห้องอาหาร ที่สามารถเปิดปิดตามความต้องการใช้งานได้ หรือวอลเปเปอร์วาดมือลายต้นไผ่ ช่วยสร้างบรรยากาศน่านอนในสไตล์บัณฑิตยุคใหม่ได้สวยงาม
ดีไซเนอร์ใช้ฉากไม้แกะสลักเป็นบานเฟี้ยมชุดใหญ่แทนประตูและผนัง กั้นระหว่างห้องทำงานและห้องทานอาหาร มองเห็นโต๊ะทำงานไม้เรียบง่ายแต่ดูภูมิฐานแบบจีน เข้ากันกับของตกแต่งอย่างแผงไม้รูปดอกไม้สี่ฤดูและกี๋กระเบื้องจีนโบราณ
ผลงานที่ออกมาคือความสวยงามของการรังสรรค์บรรจบกันระหว่างความงามแบบตะวันออกและความอยู่สบายในแบบชีวิตสมัยใหม่
--------------------------------
หลัก "ฉิน ฉี ซู ฮว่า" 4 ศาสตร์ศิลป์แห่งบัณฑิตจีน ประกอบด้วย ดนตรีกู่ฉิน หมากรุก หนังสือ ภาพวาด ทั้งสี่ศาสตร์คือสุนทรียะที่ช่วยกล่อมเกลามนุษย์ให้มีความอ่อนโยนไม่หยาบกระด้าง รู้สึกถึงความรู้สึกต่างๆของผู้อื่น รู้จักรัก เมตตา เห็นอกเห็นใจ ทำให้จิตวิญญาณไม่ตื้นเขินคับแคบ เป็นพื้นฐานปรัชญาการใช้ชีวิตของจีนตั้งแต่โบราณ คือพื้นฐานวิถีชีวิตแห่งมนุษย์ที่สมบูรณ์
เรียบเรียงจาก tatlerasia.com และบทความ "พิณ หมากรุก หนังสือ ภาพวาด" โดย อาจารย์เรืองรอง รุ่งรัศมี
10 ก.ค. 2566
27 มี.ค. 2560
29 ก.ย. 2560